มิติเศรษฐกิจ | North East Rubber
จ่ายเงินปันผลในอัตราหุ้นละ
0.34
บาท
ในปี 2566
เตรียมงบลงทุน 400 ลบ. เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต
15%
จากการปรับปรุงเครื่องจักร
รักษาการกํากับดูแลกิจการ ให้อยู่ในเกณฑ์ “ดีเลิศ”
ได้รับคะแนนการประเมินในระดับ
5
ดาวปี 2564
ตั้งเป้าหมายรับทราบและลงนามตอบรับในจรรยาบรรณคู่ค้าธุรกิจ
100%
ของคู่ค้าหลัก

ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของลูกค้า

NER ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อให้การ ทำงานสามารถรับมือกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันได้มีอย่างมีประสิทธิภาพมุ่งเน้นในการทำการตรวจสอบย้อนกลับและมีช่องทางในการเข้าถึงเกษตรกรมากขึ้น

ห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจ

การกำกับดูแลกิจการที่ดี

คณะกรรมการมีเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมให้บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จํากัด (มหาชน) เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพในการดําเนินธุรกิจ การกํากับดูแลกิจการและการบริหารจัดการที่ดีเลิศ โดยมุ่งเน้นการสร้างประโยชน์ที่ดีให้แก่ผู้ถือหุ้นอย่างยั่งยืน และคํานึงถึงผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยรวม มีคุณธรรมในการดําเนินธุรกิจ มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้จึงได้กําหนดเป็นนโยบายการกํากับดูแลกิจการที่ดีซึ่งจัดทําขึ้นตามหลักการและแนวปฏิบัติในการกํากับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance Code : CG Code)

คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี
นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
การบริหารความเสี่ยงขององค์กร

บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงและเชื่อมั่นว่า การบริหารความเสี่ยงเป็นแนวทางสำคัญเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร จึงกำหนดนโยบายบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรขึ้นอย่างเป็นระบบ โดยจัดตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยเพื่อทำหน้าที่ในการจัดทำนโยบาย วางระบบ และประเมินความเสี่ยงต่างๆ ทั้งที่เกิดจากปัจจัยภายนอกและจากการบริหารงานและปฎิบัติงานภายในองค์กร

นโยบายการบริหารความเสี่ยง
ความปลอดภัยของข้อมูลและระบบการจัดการข้อมูล

บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการบริหารจัดการ และการดำเนินธุรกิจตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งการตระหนักถึงความสำคัญของการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญอย่างถูกต้องทันท่วงทีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานกำกับดูแลต่างๆ กำหนด

คู่มือระบบบริหารจัดการการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
นโยบายการเปิดเผยข้อมูลและสารสนเทศ
นโยบายด้านภาษี

บริษัทฯ ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในการเป็นผู้เสียภาษีที่ดีซึ่งจำเป็นในการพัฒนาประเทศ

นโยบายด้านภาษี
จรรยาบรรณคู่ค้า

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลกิจการ เพื่อให้เป็นไปตามจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจขององค์กร รวมถึงการสื่อสาร และการจัดการห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจให้เกิดความยั่งยืน

จรรยาบรรณคู่ค้า